วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบกลางภาค

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ 

1.  กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
     ตอบ
   ความหมายของกฎหมาย  มีผู้ให้คำนิยามไว้ดังนี้  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  พระบิดาแห่งกฎหมายไทย  ทรงอธิบายว่า  "กฎหมาย  คือ  คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย  เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ"

     ศาสตราจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์  อธิบายว่า  "กฎหมาย  ได้แก่  กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ  ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม"

     จอห์น  ออสติน  ปรัชญาเมธีชาวอังกฤษอธิบายว่า  "กฏหมาย  คือ  คำสั่ง  คำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์  ซึ่งใช้บังคับบุคคลทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามโดยปกติแล้ว  ผู้นั้นต้องรับโทษ"

     จากคำนิยามที่ได้กล่าวมาข้างต้น  อาจสรุปได้ว่า  กฎหมาย  คือ  บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคล  อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ  และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม

     การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายถึง เป็นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้ อำนาจของตนตามอำเภอใจโดยการใช้อำนาจของรัฐแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งรัฐต้อง สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดรัฐจึงกระทำการอันก่อให้เกิดผลกระทบหรือเป็น การให้ประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นโดยเฉพาะ หากการให้เหตุผลไม่อาจรับฟังได้แสดงว่าการใช้อำนาจของรัฐนั้นเป็นไปตาม อำเภอใจ ดังนั้นหลักความเสมอภาคจึงเป็นหลักสำคัญในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนและสามารถนำมาตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่าย นิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการได้ แนวคิดทางกฎหมายของหลักความเสมอภาคในปัจจุบันได้รับการรับรองอย่าง ชัดแจ้งโดยถือว่าบุคคลย่อมมีความเสมอภาคที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองตาม กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน (Fairness) ซึ่งหมายถึง หลักความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมาย” (Equality before the law) ที่เป็นการยอมรับสิทธิเสรีภาพอันเป็นสาระสำคัญของความเป็นมนุษย์ที่ติดตัว มนุษย์มาตั้งแต่กำเนิดและไม่อาจพรากไปได้ จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับตามทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (Natural law) 

2. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ

    ตอบ เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เนื่องจากวิชาชีพดังกล่าวเป็นวิชาชีพควบคุมการกำหนดอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งจะส่งผลให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเนื่องจาก ผู้ที่จะประกอบอาชีพและได้มาพร้อมใบประกอบวิชาชีพ ถือได้ว่าผู้นั้นเคยมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ที่จะสามารถพัฒนาในอาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ได้ต่อไป

3. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง

   ตอบ   แนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของข้าพเจ้า  จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กล่าวว่ากฎหมายได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหาร และ การจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สินทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   บุคคล   ครอบครัว   ชุมชน   องค์กรชุมชน  เอกชน  องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาโดย เป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาและมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
     เนื่องจากการศึกษาในท้องมีความจำเป็นอย่างที่จะต้องมีการบริหารศึกษาโดยมีบุคลากรในที่ได้อ้างจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา สำหรับตัวของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าสามารถระดมทุนทรัพย์ และสามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพของข้าพเจ้าได้ เพื่อให้มีการศึกษาในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนา


4. รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
   ตอบ
 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

1.             การศึกษาในระบบ 

2.             การศึกษานอกระบบ

3.             และการศึกษาตามอัธยาศัย

        การศึกษาในระบบ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
           1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี  ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา
และมัธยมศึกษา
            2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า
ปริญญา และปริญญา

5. ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
     ตอบ
  การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานแตกต่างกัน กล่าวคือ  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะจัดอย่างต่อเนื่อง 12 ปี แต่โอกาสที่ผู้เรียนจะเรียน ไม่ครบ 12 ปี เนื่องจากความจำเป็นต่างๆก็สามารถทำได้ คือ เรียนครบ 9 ปี ก็ออก ผู้เรียนก็จบการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545  กำหนด แต่หากผู้เรียนเรียนจบ 12 ปี เป็นการจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบการศึกษาภาคบังคับไประยะหนึ่งแล้วถ้า ต้องการจะกลับ เข้ามาศึกษาต่ออีก 3 ปี ก็สามารถทำได้ตามสิทธิที่พึงจะได้รับที่รัฐจะต้องจัดให้


6. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง

   ตอบ มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

           (๑) สำนักงานรัฐมนตรี

           (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง

           (๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

           (๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

           (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

           (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

          ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
   ตอบ
  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
 เนื่องจาก พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 39 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย


8. ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิด      
ตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด 
   ตอบ
 กระทำความผิด เพราะห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
           (๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
           (๒) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
           (๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
           (๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
           (๕) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
           (๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
           (๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
           (๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด


9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 

   ตอบ  โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัย ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้   ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัยเว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
             (1) ภาคทัณฑ์
             (2) ตัดเงินเดือน
             (3) ลดขั้นเงินเดือน
             (4) ปลดออก
             (5) ไล่ออก
             ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้ผู้นั้น มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่า เป็นผู้ลาออกจากราชการ

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน

     ตอบ  เด็กหมายความว่า เป็นบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
              “เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
              “เด็กกำพร้าหมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
   “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
              เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมาย ความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิด กฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำ ไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
              “ทารุณกรรมหมาย ความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือ จิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น